ประวัติจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย https://www.jangwat.com/history/ เว็บรวมข้อมูลจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย Sat, 19 Sep 2020 04:55:42 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.3 ประวัติจังหวัดนครราชสีมา อดีตเมืองโบราณแห่งอาณาจักรไทย https://www.jangwat.com/history/77/ Sat, 19 Sep 2020 04:55:39 +0000 http://www.jangwat.com/?p=77 จังหวัดนครราชสีมากับประวัติศาสตร์อันยาวนาน จังหวัดนครรา […]

The post ประวัติจังหวัดนครราชสีมา อดีตเมืองโบราณแห่งอาณาจักรไทย appeared first on JANGWAT.

]]>
จังหวัดนครราชสีมากับประวัติศาสตร์อันยาวนาน

จังหวัดนครราชสีมาเดิมนั้นเป็นเมืองโบราณในอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบัน 31 กิโลเมตร เรียกว่า “เมืองโคราฆะปุระ” หรือ “โคราช” กับ “เมืองเสมา” ซึ่งทั้ง 2 เมือง เคยเจริญรุ่งเรือง ในสมัยขอม แต่ในปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมลำตะคอง

จังหวัดนครราชสีมาในสมัยต่างๆ

สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199 – 2231) ได้โปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นใน พื้นที่ตัวเมืองปัจจุบัน โดยเอาชื่อ “เมืองโคราฆะปุระ”กับ “เมืองเสมา” มาผูกเป็นนามเมืองใหม่เรียกว่า “เมืองนครราชสีมา” แต่คนทั่วไป เรียกว่า “เมืองโคราช”

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศ เป็นเจ้าพระยา โดย เจ้าพระยานครราชสีมาคนแรกชื่อ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมา ได้นำช้างเผือก 2 เชือก ขึ้นน้อมเกล้าถวาย ต่อมา ในปี พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏ ยกกองทัพ มาตีเมืองนครราชสีมาและกวาดต้อน พลเมือง ไปเป็นเชลย คุณหญิงโม (ภรรยาปลัดเมือง นครราชสีมา(พระสุริยเดชวิเศษ ฤทธิ์ทศทิศวิชัย)) ผู้รักษาเมืองแสร้งทำกลัวเกรงและประจบเอาใจ ทหารลาว เมื่อถูกกวาดต้อนมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ใน เขตอำเภอพิมาย ก็หยุดพักกลางทางพอได้โอกาส คุณหญิงโม ก็จัดกองทัพโจมตีกองทัพเวียงจันทน์ แตกพ่ายไป วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นนี้ รัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น “ท้าวสุรนารี” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรด เกล้า ฯ ให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงให้ นครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑล ลาวกลาง ในปี พ.ศ. 2434 ( ร.ศ. 110 )

The post ประวัติจังหวัดนครราชสีมา อดีตเมืองโบราณแห่งอาณาจักรไทย appeared first on JANGWAT.

]]>
ประวัติจังหวัดชุมพร อดีตเมืองหน้าด่านแดนใต้ https://www.jangwat.com/history/46/ Sun, 13 Sep 2020 09:59:33 +0000 http://www.jangwat.com/?p=46 บทความวันนี้ขอนำเสนอประวัติของจังหวัดชุมพรให้ผู้อ่านได้ […]

The post ประวัติจังหวัดชุมพร อดีตเมืองหน้าด่านแดนใต้ appeared first on JANGWAT.

]]>
บทความวันนี้ขอนำเสนอประวัติของจังหวัดชุมพรให้ผู้อ่านได้ศึกษากันนะครับ จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ทางตอนบนของภาคใต้ ในอดีตก็จะเป็นเมืองหน้าด่าน ตามคำขวัญท่อนหนึ่งของจังหวัดชุมพรก็ได้กล่าวไว้ว่า

ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

คำขวัญจังหวัดชุมพร

จังหวัดชุมพรมีความเป็นมาอย่างไรไปติดตามกันต่อเลยครับ

จังหวัดชุมพรเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช

จังหวัดชุมพรมีชื่อปรากฏตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1098 ในตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอสมุดแห่งชาติ โดยมีความว่า เมืองชุมพรนั้นมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง เป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือเพราะอยู่ทางตอนบนของภาคใต้ การเดินทางโดยทางบกจำเป็นต้องผ่านเมืองชุมพร ในปีพุทธศักราช 1997 แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรีอาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยาจนถึงพุทธศักราช 2459 จึงมีฐานะเป็นจังหวัดในมณฑลสุราษฏร์ธานี

เมืองชุมพรจะตั้งอยู่ ณ ตำบลใด ที่ใดไม่มีหลักฐานที่แน่นอนทั้งนี้เมืองชุมพรไม่มีโบราณวัตถุที่เป็น พยานหลักฐานว่าเมืองแต่โบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงไว้ใน ตำนานเมืองระนอง ความตอนหนึ่งว่า”เมืองชุมพรประหลาดผิดกับเมืองอื่นในแหลมมลายู เมืองที่ตั้งมาแต่ โบราณ เช่น เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น ล้วนมีโบราณวัตถุและมีตัวเมืองปรากฏอยู่บ้างรู้ได้ว่าเป็น ้เมืองมาแต่โบราณ แต่เมืองชุมพรยังไม่ได้พบโบราณสถานวัตถุเป็นสำคัญแต่อย่างใด อาจจะเป็นด้วยเหตุ 2 ประการ คือ มีที่นาไม่พอกับคนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอยู่ตรงคอคอดแหลมมลายู มักเป็นสมรภูมิรบพุ่ง กันตรงนี้ จึงไม่สร้างเมืองถาวรไว้ แต่ก็ต้องรักษาไว้เป็นเมืองด่าน” นอกจากเหตุผล 2 ประการดังกล่าวแล้ว พิจารณาจากสภาพตามธรรมชาติแล้วยังมีเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง คือ ที่ท้องที่ตั้งจังหวัดชุมพรเป็นที่ราบต่ำน้ำท่วม บ้านเรือนราษฎร เรือกสวนไร่นาเสียหายอยู่เสมอ บางปีน้ำท่วมถึง 2 – 3 ครั้ง ภัยจากน้ำท่วมอาจเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไม่นิยมสร้างถาวรวัตถุไว้ให้ปรากฏแก่ชนรุ่นหลังก็ได้ แม้แต่บ้านเรือนราษฎรในเมืองก็ไม่ปรากฏว่าได้ ก่อสร้างอาคารถาวรเป็นเรือนตึกหรือคอนกรีต เพิ่งจะมีตึกขึ้นเป็นครั้งแรกในตลาดชุมพร เมื่อ พ.ศ.2491 นี้เอง

ประวัติที่มาของชื่อจังหวัดชุมพร

คำว่า “ชุมพร” ตามอักษรแยกได้เป็น 2 คำ คือ คำว่า “ชุม” ซึ่งมีความหมายว่า รวม,ชุก,มาก,รวมกันอยู่ และคำว่า “พร” ซึ่งมีความหมายว่า ของดี,ของที่เลือกเอา,ของประเสริฐ ดังนั้นคำว่าชุมพร ถ้าแปลตามตัวอักษร ก็จะได้ความหมายว่า เป็นที่รวบรวมของประเสริฐ แต่ชื่อเมืองชุมพรนั้นไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษร

เชื่อกันว่าชุมพรนั้นมาจากคำว่า “ประชุมพล” หรือ “ชุมนุมพล” ซึ่งแปลได้ว่า “รวมกำลัง” เนื่องจากในสมัยก่อนชุมพรเป็นเมืองหน้าด่านทางภาคใต้ และกองทัพมักจะมาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองเมืองชุมพร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการรบกับพม่าหรือปราบกบฏภายในราชอาณาจักรก็ตาม เมื่อยกทัพหลวงมาครั้งใด เมืองชุมพรก็จะต้องเป็นที่ชุมนุมพลหรือชุมนุมกองทัพเสมอ คำว่าชุมพรจึงเป็นไปได้ว่าเกิดจากการเรียกเพี้ยนมาจากคำว่าประชุมพล เพราะคนไทยทางใต้ชอบพูดคำสั้นๆ จึงตัดคำว่าประออกเสีย เหลือแค่ “ชุมพล” และคำว่าพลก็เพี้ยนกลายมาเป็นคำว่า “พร” แทน ซึ่งตามธรรมดา ชื่อเมืองหรือตำบลมักจะถูกเรียกเพี้ยนไปจากเดิมเสมอ อย่างไรก็ดีเมืองชุมพรนับว่าเป็นเมืองที่สำคัญทางยุทธศาสตร์มาตั้งแต่สมัย โบราณ ดังนั้นจากคำว่าประชุมพลจึงมีความหมายตรงกับประวัติศาสตร์ของเมืองที่ว่า เป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์

ในอีกความเชื่อ การเดินทางไปรบทัพจับศึกของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้ได้ รับชัยชนะในการสู้รบ เพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้จึงตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมพร” เช่นเดียวกัน

และความเชื่อสุดท้าย อันเนื่องจากที่ตั้งเมืองเดิมนั้นอยู่ทางฝั่งขวาของคลองชุมพร ซึ่งมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “มะเดื่อชุมพร” ขึ้นอยู่ทั่วไป เดิมคลองนี้ยังไม่มีชื่อภายหลังจึงถูกตั้งชื่อว่าคลองชุมพรตามชื่อต้นไม้ เพราะปกติการตั้งชื่อท้องที่หรือแม่น้ำลำคลองมักจะตั้งตามชื่อต้นไม้หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ต่อมาเมืองที่มาตั้งจึงมีชื่อตามต้นไม้ไปด้วย เช่นเดียวกับชื่อชุมพร อาจเรียกตามชื่อหรือคลองหรือชื่อต้นไม้ก็เป็นได้

ประวัติศาสตร์ในสมัยต่างๆ ของจังหวัดชุมพร

สมัยกรุงสุโขทัย เมืองชุมพรเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองมายาวนาน ในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นเมืองขึ้นต่ออาณาจักรนครศรีธรรมราชในฐานะเมืองอาณานิคมและเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ หรือเมืองปีมะแม ถือตราแพะ เป็น 1 ในเมือง 12 เมือง หรือเรียกว่า”เมืองสิบสองนักษัตร” ของอาณาจักรนครศรีธรรมราช

สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองชุมพรในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้แผ่ขยายอาณานิคมลงทางใต้ ชาวจามได้มาอาศัยอยู่ที่เมืองชุมพร เนื่องด้วยชาวจามมีความสามารถ การค้า การเดินเรือ และการรบจะเห็นได้จากทหารอาสาจามเป็นทหารชั้นดีที่รับใช้ราชสำนักตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสามารถการรบและการเดินเรืออย่างเชี่ยวชาญ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทำให้เมืองชุมพรต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองอาณานิคม เป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายใต้ และเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองชุมพรจึงมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่านมาแต่โบราณในอาณาจักรนครศรีธรรมราชและอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาทำให้ไม่มีการก่อสร้างวัตถุถาวรไว้ ดังนั้นชาวชุมพรจึงเป็นลูกหลานนักรบที่แท้จริง และควรให้สมญานามบรรพบุรุษว่า “วีรบุรุษนักรบแห่งคอคอดกระ ดินแดนสองฝั่งทะเล” จากการทำศึกสงครามอย่างต่อเนื่องในแต่ละยุคแต่ละสมัย

 สมัยกรุงธนบุรี เมืองชุมพรในสมัยกรุงธนบุรีไม่ค่อยมีบทบาทมากนักเพราะอยู่ในภาวะสงครามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั้งรัชกาล และสืบเนื่องจากพระชุมพร (พวย) นำกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ เมืองชุมพร กำลังพลประมาณ 800 คน ได้สูญเสียจากการรบในช่วงกรุงแตกที่ค่ายบางกุ้ง จากการส่งกำลังเข้ารักษาพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2305-2308 และเข้าร่วมรบเพื่อตีเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้เกิดการล้าของชาวเมืองชุมพร

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแถบนี้ ต่อมา รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา

The post ประวัติจังหวัดชุมพร อดีตเมืองหน้าด่านแดนใต้ appeared first on JANGWAT.

]]>
ประวัติจังหวัดภูเก็ต เมืองแก้วแห่งทะเลอันดามัน https://www.jangwat.com/history/35/ Sun, 13 Sep 2020 03:56:43 +0000 http://www.jangwat.com/?p=35 จังหวัดภูเก็ตดินแดนประวัติ 3000 ปี แห่งแหลมตะโกลา ̶ […]

The post ประวัติจังหวัดภูเก็ต เมืองแก้วแห่งทะเลอันดามัน appeared first on JANGWAT.

]]>
จังหวัดภูเก็ตดินแดนประวัติ 3000 ปี แห่งแหลมตะโกลา

” ภูเก็ต “ ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

หอนาฬิกา ภูเก็ต
หอนาฬิกา ตึกชิโนโปรตุกิส ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ตั้งอยู่หัวมุมของถนนพังงา

ชื่อเรียกขานที่ใช้เรียกจังหวัดภูเก็ตในอดีต

สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ.ศ. 700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้วได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า มณีคราม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ . 2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

คำว่า “ภูเก็ต” เดิมนั้นใช้คำว่า “ภูเก็จ” อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา(ภู) มีประกายแก้ว(เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม

วัดฉลอง ภูเก็ต
วัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ตกับประวัติศาสตร์อันยาวนาน

จากประวัติศาสตร์ไทยภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนครเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตรโดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัยเมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าในสมัยอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุงกษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้เช่นไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล ๓,๐๐๐ คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งและเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ผู้ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคมพ.ศ. 2328พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรีและคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน

ชายหาด ภูเก็ต
ชายหาดสวยน้ำใจ จังหวัดภูเก็ต

The post ประวัติจังหวัดภูเก็ต เมืองแก้วแห่งทะเลอันดามัน appeared first on JANGWAT.

]]>
ประวัติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา https://www.jangwat.com/history/25/ Sat, 12 Sep 2020 09:35:17 +0000 http://www.jangwat.com/?p=25 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนค […]

The post ประวัติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา appeared first on JANGWAT.

]]>
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมีคนรักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และราษฎรที่หลบหนีไปได้กลับเข้ามาอยู่รวมกัน ต่อมาได้รับการยกย่อง เป็นเมืองจัตวาเรียก “เมืองกรุงเก่า”

วัดไชยวัฒนาราม
ความงามของวัดไชยวัฒนาราม

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 – 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

บูรณะโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจำนวน200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น ” มรดกโลก ” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

วัดมหาธาตุ
Unseen วัดมหาธาตุ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอดีตราชธานีแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า ” ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว “ ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์

  1. ราชวงศ์อู่ทอง
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
  3. ราชวงศ์สุโขทัย
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

The post ประวัติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา appeared first on JANGWAT.

]]>
ประวัติจังหวัดนครพนม อดีตอาณาจักรศรีโคตรบูรอันรุ่งเรือง https://www.jangwat.com/history/12/ Fri, 11 Sep 2020 18:35:20 +0000 http://www.jangwat.com/?p=12 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นจัง […]

The post ประวัติจังหวัดนครพนม อดีตอาณาจักรศรีโคตรบูรอันรุ่งเรือง appeared first on JANGWAT.

]]>
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครพนม

จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของ อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนาน พระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้าง บ้านแปงเมืองนั้นเอง

วัดพระธาตุพนม
พระธาตุพนมวรมหาวิหาร

ที่ตั้งจังหวัดนครพนม

จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีประวัติสืบทอดยาวนาน เชื่อว่าเดิมศูนย์กลางของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ที่รุ่งเรืองในอดีต ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่12 เป็นอาณาจักรอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ได้เสื่อมอำนาจลง ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรขอม ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 18 ชื่อของ “ศรีโคตรบูร” ได้กลายมาเป็นเมืองใน อาณาจักรล้านช้าง มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง โดยพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง ทรงสร้างเมืองที่ปากห้วยหินบูร (ปากห้วยบรรจบลำ น้ำโขงฝั่งซ้ายตรงข้ามอำเภอท่าอุเทน เหนือเมืองนครพนม) และได้สืบทอดราชสมบัติต่ออีกหลายพระองค์

แม่น้ำโขง
ริมแม่น้ำโขง

จังหวัดนครพนม มีประวัติสืบทอดยาวนาน เชื่อว่าเดิมศูนย์กลางของ “อาณาจักรศรีโคตรบูร” ที่รุ่งเรืองในอดีต ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่12

ภายหลังย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวก ห้วยศรีมัง ริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย (คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบัน) ถึงปีพุทธศักราช 2297 มี พระนครานุรักษ์ครองเมืองศรีโคตรบูร มีความเห็นว่าเมืองมิได้ตั้งอยู่ที่ปากห้วยแล้ว จึงได้เปลี่ยนนามเมืองใหม่ว่า “เมืองมรุกขนคร” เพราะถือว่าสร้างขึ้นในดงไม้รวก นามเมืองศรีโคตรบูรจึงเปลี่ยนไปตั้งแต่ครั้งนั้น

ช่วงประมาณพุทธศักราช 2309 สมัยพระบรมราชากู่แก้ว หลังจากชนะศึกกับพระนครานุรักษ์ (คำสิงห์) เจ้าราชบุตรเขยผู้ไปสวามิภักดิ์ต่อ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งนครเวียงจันทน์ พระองค์ได้ย้ายเมืองข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาที่ปากบังฮวก (ฝั่งประเทศไทยปัจจุบัน คือบริเวณวัดมรุกขนคร ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม) และต่อมาในปีพุทธศักราช 2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสิงหนาท ยกทัพมาตีเอาหัวเมืองทางแถบแม่น้ำโขง รวมไปจนถึง นครเวียงจันทน์ เมืองมรุกขนครจึงได้ขึ้นกับกรุงธนบุรีในสมัยนี้ แต่ยังคงปกครองตนเองอยู่ หลังจากนั้น ราวปีพุทธศักราช 2322 สมัยพระบรมราชา (พรหมา) ได้ย้ายเมืองจากปากบังฮวก มาอยู่ที่บ้านหนองจันทร์ (ห่างจากตัวเมืองนครพนมไปทางทิศใต้ 4 กิโลเมตร) ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “นครบุรีราชธานี”

สะพานมิตรภาพไทย ลาว 3
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)

ที่มาของชื่อจังหวัดนครพนม

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่ว่า “เมืองนครพนม” ขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ การที่พระราชทานนามว่า “เมืองนครพนม” สันนิษฐานได้ว่า อาจจะเนื่องด้วยเดิมเมืองนี้เป็นเมือง ลูกหลวงมาก่อน เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงให้ใช้คำว่า “นคร” หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า “นคร” นี้ อาจรักษาชื่อเมืองเดิมไว้ คือ “เมืองนครบุรีราชธานี” ส่วนคำว่า “พนม” อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีองค์พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่หรืออาจจะเนื่องจากเดิมมีอาณาเขต ไกลไปถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือบริเวณเมืองท่าแขก ซึ่งภูเขาสลับซับซ้อนมากกมาย ไปจนถึงดินแดนของประเทศเวียดนาม จึงใช้คำว่า “พนม” แปลว่า “ภูเขา”

ขอบคุณที่มา http://www2.nakhonphanom.go.th/

The post ประวัติจังหวัดนครพนม อดีตอาณาจักรศรีโคตรบูรอันรุ่งเรือง appeared first on JANGWAT.

]]>